top of page

Hay Fever - โรคภูมิแพ้ที่มาในหน้าร้อน

Updated: Feb 4, 2021

ช่วงนี้ นอกจากโควิด-19 ที่ต้องระวัง ยังมีโรคภูมิแพ้อีกหนึ่งชนิดที่ต้องจับตาไม่แพ้กัน เพราะสภาพอากาศประเทศไทยกเอื้ออำนวยให้เกิดอาการแพ้และกระตุ้นการเป็นโรคนี้ซะเหลือเกิน


วันนี้ Nasol Spray เลยนำข้อมูลต่างๆที่มีประโยชน์เกี่ยวกับไข้ละอองฟางมาฝากกันค่ะ รู้ไว้จะได้ดูแลตัวเองได้อย่างถูกวิธีนะคะ


ไข้ละอองฟาง คืออะไร?


ไข้ละอองฟาง เป็นชื่อเรียกโรคภูมิแพ้ที่มากับหน้าร้อนในประเทศไทย แต่ในต่างประเทศมักเรียกไข้ละอองฟางว่า Hay fever หรือ โรคแพ้อากาศ โดยไข้ละอองฟางเกิดได้ในทุกประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะช่วงที่เข้าสู่ใบไม้ผลิหรือหน้าร้อน ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคไข้ละอองฟางก็คือ เกสรดอกไม้ และละอองเกสรต่างๆ


ยิ่งในช่วงหน้าแล้ง หน้าร้อนของประเทศไทยด้วยแล้ว มีโอกาสที่ละอองเกสรจะปลิดปลิวเป็นจำนวนมาก ทำให้หลายคนเกิดอาการแพ้ กลายเป็นโรคไข้ละอองฟางหรือ Hay fever ทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัวได้ค่ะ


สาเหตุการเกิดไข้ละอองฟาง


แม้ว่าสาเหตุหลักของโรคไข้ละอองฟาง จะเกิดจากละอองเกสรดอกไม้ที่ปลิวในช่วงหน้าร้อน แต่โรคไข้ละอองฟางยังมีสาเหตุของการเกิดโรคอีกหลายปัจจัย เช่น ไรฝุ่น แมลงสาบ รังแค เชื้อราที่เกิดจากสัตว์เลี้ยงไม่ว่าจะเป็น แมว สุนัข กระต่าย ฯลฯ โดยปัจจัยเหล่านี้มักพบได้บ่อยในช่วงหน้าร้อนของประเทศไทย เพราะเมื่ออากาศร้อนเจอกับเกสรดอกไม้หรือไรฝุ่นต่างๆ จะสามารถลอยฟุ้งและอยู่อากาศได้นานกว่าปกติ ทำให้คนที่ไปได้สัมผัสอาจมีอาการแพ้เกิดขึ้น


อาการของไข้ละอองฟาง


• มีผื่นขึ้นคันตา น้ำตาไหล

• หายใจหอบเหนื่อย หายใจไม่ทัน

• จมูกเกิดการอักเสบเฉียบพลัน มีอาการคัดจมูก มีน้ำมูกหรือเป็นไซนัสอักเสบทันที

• ในบางรายมีอาการไข้ร่วมด้วย ขึ้นอยู่กับภูมิต้านทานของแต่ละคน

• ปวดศีรษะ ปวดหู ปวดขมับและหน้าผาก

• คันตามผิวหนัง คันตามตา คอ ปาก จมูกหรือหู

• มีเสมหะ

• รับรู้กลิ่นไม่ได้ชั่วคราว ฯลฯ

โดยผู้ป่วยอาการมักมีอาการข้างต้นติดต่อกันนานหลายสัปดาห์หรือเป็นเดือน


วิธีดูแล & ป้องโรคไข้ละอองฟาง


โรคไข้ละอองฟางเรียกได้ว่าเป็นโรคประจำถิ่นและโรคประจำตัวของแต่ละบุคคล ดังนั้นจึงควรสังเกตอาการของตัวเองว่ามีอาการแพ้หรือไม่? มีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดไข้ละอองฟางมากน้อยเพียงใด?


ซึ่งหากมีอาการเข้าข่ายโรคไข้ละอองฟาง ควรเข้ารับคำปรึกษากับคุณหมอผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้ เพื่อตรวจยืนยันอย่างละเอียด ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้วิธีการทำ Skin test ที่ผิวหนังร่วมกับการตรวจเลือดเพื่อยืนยันผล


แต่หากไม่มีอาการไข้ละอองฟางหรือมีความเสี่ยงไม่มาก คุณก็สามารถป้องกันดูแลตัวเองได้ ด้วยการเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค และพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ภูมิต้านทานของร่างกายแข็งแรง เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์และกินวิตามินเสริมถ้าจำเป็น ล้างมือให้บ่อย พร้อมเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์โดยตรงเพื่อป้องกันปัจจัยเสี่ยง รวมทั้งปิดประตูหน้าต่าง เพื่อลดการแพร่กระจายของเกสร ละออง ขนสัตว์ต่างๆ


Comments


Gif Ads
bottom of page